Video produced by CIMB explaining Sukuk bonds. Available at: https://www.youtube.com/watch?v=_mPgAtnDlw4
คำอธิบาย
ตราสารศุกูกเป็นตราสารหนี้ปลอดดอกเบี้ยที่ออกแบบมาเพื่อให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนตามหลักชารีอะห์ (หลักศาสนาอิสลาม) นักลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรที่ตกลงกันซึ่งสร้างขึ้นโดยกลุ่มสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งนักลงทุนเป็นเจ้าของบางส่วนแทนการคิดดอกเบี้ย
แง่มุมในการออกตราสารศุกูกหลายๆ แง่ทำให้เกิดทางเลือกที่เป็นไปได้ในการระดมทุนของภาคเอกชนสำหรับโครงการเมืองอัจฉริยะที่ส่งเสริมผลลัพธ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือความยั่งยืน ตัวอย่างเช่น เงินทุนที่ระดมผ่านตราสารศุกูกนั้นได้รับการจัดสรรขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีรากฐานมาจากหลักการรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรม คล้ายกันกับตราสารหนี้สีเขียว สังคม ความยั่งยืน เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน (GSSS) โครงสร้างพื้นฐานสินทรัพย์ของตราสารศุกูกยังช่วยให้นักลงทุนมั่นใจได้มากขึ้นว่า เงินทุนที่ระดมทุนมานั้นจะนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ภาวะที่เอื้ออำนวยและข้อควรพิจารณาหลัก
- จัดทำแนวปฏิบัติระดับชาติสำหรับการออกตราสารศุกูกสีเขียวหรือความยั่งยืน กรอบการทำงานระดับชาติสำหรับการออกศุกูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือยั่งยืน สามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ใช้เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับรัฐบาลท้องถิ่นในการระดมเงินทุนของภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนโครงการเมืองอัจฉริยะ หลักเกณฑ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการออกตราสารและป้องกันการฟอกเขียวเท่านั้น แต่ยังส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงการสนับสนุนของรัฐบาลสำหรับการลงทุนที่ยั่งยืนดังกล่าว ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียได้นำมาตรฐานตราสารศุกูกสีเขียวระดับชาติมาใช้ เช่น กรอบงานศุกูกด้านการลงทุนที่ยั่งยืนและรับผิดชอบ (SRI) ของมาเลเซีย (2014) และตราสารหนี้สีเขียวและตราสารศุกูกสีเขียวของอินโดนีเซีย (2017)
- การปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากลที่มีอยู่ ตราสารศุกูกที่ออกเพื่อโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนควรปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากลที่มีอยู่ เช่น หลักการ GSSS ที่พัฒนาโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลามในความร่วมมือกับสมาคมตลาดทุนระหว่างประเทศและกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน การปฏิบัติเช่นนี้ อาจช่วยดึงดูดความต้องการจากนักลงทุนต่างประเทศ และบรรเทาความไม่แน่นอนของนักลงทุนในประเทศได้
- กรอบกฎหมายที่มีอยู่ได้รับการปรับให้เข้ากับหลักการทางการเงินอิสลาม กรอบกฎหมายที่มีอยู่ต้องสอดคล้องกับหลักการทางการเงินอิสลามซึ่งเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในการออกตราสารศุกูก (หรือตราสารศุกูกสีเขียว) เนื่องจากลักษณะเฉพาะของธุรกรรมทางการเงินของศาสนาอิสลาม ซึ่งจำเป็นต่อการจัดการกับองค์ประกอบสำคัญทางการเงินของศาสนาอิสลาม เช่น การห้ามไม่ให้ได้รับดอกเบี้ย (ริบา) การยึดมั่นในหลักการทางจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม และการวางโครงสร้างของตราสารศุกูกตามข้อตกลงการแบ่งปันผลกำไรและขาดทุน
- สิ่งจูงใจเพื่อส่งเสริมความน่าสนใจ การใช้สิ่งจูงใจ เช่น การลดหย่อนภาษีหรือเงินอุดหนุนเพื่อลดต้นทุนในการลงทุน และการออกตราสารศุกูกสีเขียวสามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนได้ ตัวอย่างเช่น ในมาเลเซีย ผู้ออกตราสารศุกูกสีเขียวที่ปฏิบัติตามกรอบตราสารศุกูก SRI ของประเทศนั้น จะมีสิทธิ์ได้รับการลดหย่อนภาษีและเงินอุดหนุน
ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น
- เกณฑ์การออกที่มีความเข้มงวดอาจเป็นความท้าทายได้ การปฏิบัติตามหลักการชารีอะห์เมื่อออกตราสารศุกูกอาจมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายสำหรับผู้ออกหลักทรัพย์รายใหม่ เกณฑ์และโครงสร้างของตราสารศุกูกที่เฉพาะเจาะจงนั้นยังอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและการรายงาน
- ตลาดรองขนาดเล็กสำหรับนักลงทุนตราสารศุกูก ตลาดรองสำหรับตราสารศุกูกสีเขียวยังคงมีขนาดเล็ก เนื่องจากมีนักลงทุนตราสารศุกูกจำนวนไม่มาก ส่งผลให้นักลงทุนสถาบันรายอื่นๆ สงวนความเชื่อมั่นและความสนใจเอาไว้ก่อน เนื่องจากนักลงทุนเหล่านั้นมักจะมองหาตลาดรองที่เข้มแข็งเพื่อตอบสนองความคาดหวังด้านสภาพคล่อง ความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องตราสารศุกูกสีเขียวที่มีอยู่อย่างจำกัดนอกเหนือจากนักลงทุนแบบดั้งเดิม และยังก่อให้เกิดความท้าทายในการส่งเสริมให้มีสภาพคล่องของตลาดมากขึ้น
- ขาดแคลนโครงการที่ตรงตามเกณฑ์การออกตราสารศุกูก ธุรกรรมศุกูกจะต้องเป็นไปตามสินทรัพย์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชารีอะห์ ด้วยเหตุผลด้านประสิทธิภาพ ผู้ออกหลักทรัพย์อาจเลือกใช้สินทรัพย์สีเขียวหรือเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเพื่อจัดโครงสร้างตราสารศุกูก อย่างไรก็ตาม การระบุสินทรัพย์เพื่อจุดประสงค์นี้อาจเป็นความท้าทายที่สำคัญเนื่องจากการขาดแคลนโครงการที่ตรงตามหลักการ โครงการตราสารศุกูกสีเขียวที่มีอยู่มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่พลังงานทดแทนและโครงการอสังหาริมทรัพย์สีเขียว ในขณะที่โครงการเหล่านี้มีศักยภาพที่จะสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการที่หลากหลาย เช่น การจัดการขยะมูลฝอย และการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ขาดการจำแนกประเภทและการวัดประสิทธิภาพที่เป็นมาตรฐาน ความขาดแคลนด้านการจัดหมวดหมู่ของสินทรัพย์สีเขียวและโครงการ อาจปิดโอกาสการรวมสินทรัพย์สีเขียวเพื่อการออกตราสารศุกูกสีเขียว ในทำนองเดียวกัน ความขาดแคลนด้านการวัดผลการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานสำหรับตราสารศุกูกสีเขียว จะสร้างความยากลำบากให้กับนักลงทุนในการประเมินและเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลตอบแทนทางการเงินของตราสารเหล่านี้ ความท้าทายดังกล่าว อาจส่งผลต่อความมั่นใจในเครื่องมือและปิดกั้นให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย
ประโยชน์ที่อาจได้รับ
- ทางเลือกทางการเงินสำหรับโครงการสีเขียวหรือความยั่งยืน ตราสารศุกูกสีเขียวหรือที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนนั้น สามารถเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกให้กับเมืองต่างๆ สำหรับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมได้ ด้วยการเข้าถึงเงินทุนผ่านตราสารเหล่านี้ เมืองต่างๆ จะสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้ โดยไม่ต้องอาศัยวิธีการทางการเงินแบบเดิมๆ เช่น สินเชื่อจากธนาคาร
- ตัวเลือกการจัดหาเงินทุนระยะยาว ตราสารศุกูกสามารถเป็นแหล่งเงินทุนในระยะยาวได้ เนื่องจาก จังหวะเวลาของกระแสเงินสดของโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวโดยทั่วไปแล้วจะมีกำหนดการชำระคืนตราสารในระยะกลางและระยะยาว
- การลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายพอร์ตการลงทุน ตราสารศุกูกสีเขียวหรือความยั่งยืนที่มีอันดับเครดิตที่ดี สามารถเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าในการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายพอร์ตการลงทุนของตนได้
แหล่งข้อมูล/ข้อมูลเพิ่มเติม
- ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) (2021) หมายเหตุที่มา ตราสารอิสลามสีเขียว สามารถอ่านได้ที่: https://www.adb.org/sites/default/files/institutional-document/691951/ado2021bn-green-islamic-bonds.pdf
- ACCA (ไม่ระบุปี) การเงินตามหลักอิสลาม สามารถอ่านได้ที่: https://www.accaglobal.com/gb/en/student/exam-support-resources/professional-exams-study-resources/p4/technical-articles/islamic-finance—theory-and-practical-use-of-sukuk-bonds.html
- โครงการริเริ่มด้านการเงินเชิงจริยธรรมระดับโลก UKIFC (2022) การจัดหาเงินทุนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน สามารถอ่านได้ที่: https://www.globalethicalfinance.org/wp-content/uploads/2022/10/Financing_A_Sustainable_Future_Web.pdf
- มูลนิธิการเงินอิสลาม (2016) SRI และตราสารศุกูกสีเขียว – ความท้าทายและแนวโน้ม สามารถอ่านได้ที่: https://www.sukuk.com/article/sri-and-green-sukuk-challenges-and-prospects-4762/#/?playlistId=0&videoId=0
- ธนาคารโลก (2023) ตราสารศุกูกเป็นเพียงเครื่องมือในตลาดเงินทุนอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น (และเป็นเรื่องดี) สามารถอ่านได้ที่: https://blogs.worldbank.org/allaboutfinance/sukuk-are-just-another-capital-markets-instrument-and-good-thing
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์มาเลเซีย (2019) กรอบงานศุกูกด้านการลงทุนที่ยั่งยืนและความรับผิดชอบ: ภาพรวม สามารถอ่านได้ที่: https://www.sc.com.my/api/documentms/download.ashx?id=84491531-2b7e-4362-bafb-83bb33b07416
- กระทรวงการคลัง ประเทศอินโดนีเซีย (ไม่ระบุ) กรอบงานตราสารหนี้สีเขียวและตราสารศุกูก สามารถอ่านได้ที่: https://api-djppr.kemenkeu.go.id/web/api/v1/media/B51F74A2-F8BF-47C7-A77F-DA48C2D33067
- ICMA (2024) แนวทางปฏิบัติด้านตราสารศุกูกสีเขียว สังคม และความยั่งยืน https://www.icmagroup.org/assets/documents/Sustainable-finance/ICMA-IsDB-LSEG-Guidance-on-Green-Social-and-Sustainability-Sukuk-April-2024.pdf