สินเชื่อผ่อนปรน

สินเชื่อผ่อนปรนเป็นการให้เงินกู้ด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าเงื่อนไขทางการตลาดสำหรับผู้กู้

Instrument Category

Other ınstruments ın the same Category

Relevant case study

คำอธิบาย

สินเชื่อแบบผ่อนปรนเป็นสินเชื่อที่เสนอให้พร้อมเงื่อนไขที่ดีกว่าที่ผู้กู้จะได้รับในตลาด โดยทั่วไปเงื่อนไขดังกล่าวจะรวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าตลาด ระยะเวลาผ่อนผันที่ผู้รับสินเชื่อไม่จำเป็นต้องชำระคืน หรือทั้งสองอย่าง สินเชื่อดังกล่าวมักจะมอบให้โดยหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศ เช่น สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา (DFI) หน่วยงานการบริจาค หรือรัฐบาล (ผ่านการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) โดยมีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนโครงการริเริ่มการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศของผู้รับสินเชื่อ ลักษณะการมอบสินเชื่อผ่อนปรนเช่นนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเงินทุนสำหรับผู้กู้ จึงทำให้สามารถเข้าถึงเงินทุนที่จำเป็นมากกว่า เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับโครงการได้  ด้วยโครงสร้างที่เหมาะสม สินเชื่อผ่อนปรนสามารถใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงที่สำคัญในการดึงดูดเงินทุนจากภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่กว่ามากได้ เมื่อโครงการเริ่มดำเนินการ

ภาวะที่เอื้ออำนวยและข้อควรพิจารณาหลัก

  • ความน่าเชื่อถือทางเครดิต ทางด้านการเงินและทรัพย์สินของเมือง การรักษาความน่าเชื่อถือทางเครดิตในระดับสูงถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเมืองต่างๆ ที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนแบบผ่อนปรน ความน่าเชื่อถือทางเครดิตจะบ่งชี้ถึงความสามารถของเมืองในการปฏิบัติตามภาระหนี้ได้ตรงเวลา ปัจจัยที่เอื้อต่อความน่าเชื่อถือทางเครดิต ได้แก่ การจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ การกำกับดูแลที่โปร่งใส และประวัติการชำระคืนสินเชื่อที่ได้รับการยืนยัน เมืองที่สนับสนุนหลักการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง สามารถยกระดับชื่อเสียงของเมืองในกลุ่มสถาบันทางการเงินเพื่อการพัฒนาหรือหน่วยงานการบริจาคได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการมีสิทธิ์ได้รับสินเชื่อผ่อนปรน
  • เข้าถึง DFI หรือ ODA โดยตรง การส่งเสริมความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างเมืองกับ DFI หรือหน่วยงานการบริจาคสามารถช่วยให้เมืองต่างๆ ดำเนินการอภิปรายที่มีประโยชน์มากขึ้น และพัฒนาแผนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงความเชี่ยวชาญและทรัพยากรขององค์กรเหล่านี้ให้กับเมืองต่างๆ ได้โดยตรง ซึ่งอาจช่วย ปรับปรุงกระบวนการในการขอรับเงินทุนแบบผ่อนปรนสำหรับโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในบางกรณี สิ่งนี้อาจหมายถึงการก่อตั้ง ชี้แจง หรือส่งเสริมกรอบกฎหมายหรือข้อบังคับที่อนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นระดมเงินทุนผ่านรูปแบบที่ได้รับอนุญาตในการเพิ่มหนี้ได้ 

ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น

  • ขาดแคลนกรอบงานทางกฎหมายหรือข้อบังคับที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกู้ยืม กรอบกฎหมายหรือข้อบังคับที่ไม่ชัดเจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการกู้ยืมของเมืองได้ ตัวอย่างเช่น แม้รัฐบาลท้องถิ่นจะได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ระดมทุนผ่านตราสารหนี้ หรือการกู้ยืมรูปแบบอื่นที่ถูกกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แนวทางการกระจายอำนาจที่ไม่ชัดเจนจากรัฐบาลกลาง หรือกฎระเบียบที่ขาดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดการการขาดดุลในท้องถิ่นของเมือง หรือสิ่งที่สามารถใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อได้ อาจเป็นตัวขัดขวางเมืองต่างๆ ไม่ให้เข้าถึงเงินทุนผ่านการจัดหาเงินทุนแบบมีเงื่อนไขได้
  • ความสามารถในการบริหารของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด กระบวนการสมัครขอสินเชื่อผ่อนปรนอาจมีความซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องถิ่นที่อาจไม่คุ้นเคยกับข้อกำหนดต่างๆ เช่น การรวบรวมข้อเสนอโครงการโดยละเอียด การวางแผนทางการเงิน และข้อกำหนดขั้นตอนอื่นๆ เมืองที่มีความสามารถในการบริหารจัดการอยู่อย่างจำกัด อาจพบว่าการเตรียมและส่งเอกสารที่จำเป็นนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก
  • ความท้าทายในการจัดการการคลังในภาครัฐ เมืองที่มีหนี้อยู่ในระดับสูงหรือความโปร่งใสในการจัดการทางการเงินที่ย่ำแย่ อาจมีความติดขัดในการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย DFI ระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานการบริจาคที่ตนกำลังต้องการขอแหล่งเงินทุนแบบผ่อนปรน ปัจจัยพื้นฐาน เช่น สภาวะทางการเมือง อัตราเงินเฟ้อ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ยังอาจบั่นทอนประสิทธิภาพของการจัดการหนี้ของเมือง ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสินเชื่อแบบผ่อนปรน

ประโยชน์ที่อาจได้รับ

  • สินเชื่อผ่อนปรนช่วยมอบแหล่งเงินทุนในราคาประหยัด สินเชื่อผ่อนปรนช่วยให้เมืองต่างๆ มีวิธีการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการเมืองอัจฉริยะที่มีค่าใช้จ่ายเหมาะสม สินเชื่อผ่อนปรนมีโครงสร้างที่ค่อนข้างเรียบง่าย และสามารถนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วในทุกขั้นตอนของโครงการ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ระยะเวลาการชำระคืนที่ยาวนานขึ้น หรือทั้งสองทาง สินเชื่อดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมสำหรับเมืองต่างๆ และช่วยให้เมืองสามารถดำเนินโครงการที่มีศักยภาพมากมายที่ไม่อาจสามารถทำได้ในเชิงพาณิชย์
  • สินเชื่ออาจกระตุ้นหรือสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ปลายทางได้ นักลงทุนเอกชนอาจลังเลที่จะสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการบางอย่างเนื่องจากระดับการรับรู้หรือความเสี่ยง แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะมีศักยภาพมากมายก็ตาม สินเชื่อผ่อนปรนมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้จริง และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตัวโครงการเอง และเมื่อโครงการได้เริ่มก่อร่างสร้างบันทึกที่ได้รับการยืนยันขึ้น ก็อาจดึงดูดนักลงทุนเอกชนให้มาเข้าร่วมได้มากขึ้น
  • อำนวยความสะดวกในการพัฒนาตลาดและสนับสนุนนวัตกรรม สินเชื่อผ่อนปรนสามารถส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาตลาดได้โดยมอบการสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการที่มีผลกระทบสูง ซึ่งอาจดูเหมือนเป็นเพียงขั้นต้นหรือมีความเสี่ยงเกินไปสำหรับนักการเงินทั่วไป ตัวอย่างเช่น สินเชื่อผ่อนปรนสามารถมอบความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการพลังงานหมุนเวียนได้ โดยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเป็นได้ของภาคพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ การสนับสนุนทางการเงินจะช่วยสนับสนุนการสำรวจโครงการการบุกเบิกต่างๆ ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตและความพร้อมของตลาดที่เกิดขึ้นใหม่ 

Sources/Additional Information

Case Study

Scroll to Top