กองทุนสภาพภูมิอากาศเมือง

กองทุนสภาพภูมิอากาศเมืองเป็นกลไกทางการเงินที่จัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่มในเมือง โดยมุ่งที่การบรรเทาปัญหาและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คำอธิบาย

กองทุนสภาพภูมิอากาศเมืองเป็นกลไกทางการเงินที่จัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่มในเมืองโดยมุ่งที่การบรรเทาปัญหาและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไป กองทุนเหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมต่างๆ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเพิ่มสมรรถนะการใช้พลังงาน การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน การปรับปรุงการขนส่งสาธารณะ และการเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ แหล่งเงินทุนอาจแตกต่างกัน และรวมถึง อาจมีผู้ให้เงินทุนหลายรายรวมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ ตัวอย่างบางส่วน ได้แก่ กองทุนเมืองเพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบครอบคลุม C40 (C40 Inclusive Climate Action (ICA) Cities Fund) กองทุนช่องว่างทางการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศเมือง (City Climate Finance Gap Fund) โดยธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (European Investment Bank) และธนาคารโลก (World Bank) และ UrbanShift ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก GEF โดยทั่วไป กองทุนเหล่านี้จะสนับสนุนรัฐบาลหรือเมืองต่างๆ ในการให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือด้านเทคนิค การเงิน และการพัฒนาขีดความสามารถที่เกี่ยวข้องโดยเน้นที่การวางแผนและการลงทุนในเมืองอัจฉริยะ

ภาวะที่เอื้ออำนวยและข้อควรพิจารณาหลัก

  • สอดคล้องกับข้อกำหนดและวัตถุประสงค์ของกองทุน โครงการที่แสวงหาเงินทุนต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดจำเพาะอย่างใกล้เคียงมาก ทั้งวัตถุประสงค์และการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกองทุน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในส่วนที่กองทุนมุ่งเน้น ภูมิภาคเป้าหมาย และผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ โครงการต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่ชัดเจนในแง่ของความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อเงินทุนนั้น ควรบูรณาการกรอบการประเมินผลกระทบและตัวชี้วัดเข้ากับการวางแผนโครงการและการนำไปใช้จริง

ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น

  • กระบวนการสมัครและอนุมัติที่ซับซ้อนอาจทำให้การให้เงินทุนล่าช้า กระบวนการสมัครเพื่อเข้าถึงกองทุนเหล่านี้อาจยืดเยื้อ มีระเบียบราชการ และซับซ้อน การหาหนทางผ่านขั้นตอนการอนุมัติที่มีหลายขั้นตอน การปฏิบัติตามข้อกำหนดและจัดทำเอกสารต่างๆ อาจเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับผู้สมัครที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรขนาดเล็กหรือรัฐบาลท้องถิ่นที่มีทรัพยากรและความชำนาญจำกัด
  • ภูมิทัศน์การหาเงินทุนที่มีการแข่งขันสูงอาจจำกัดการเข้าถึงทุน การแข่งขันหาเงินทุนนั้นเข้มข้นอย่างยิ่ง โดยมีผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมากแข่งกันเพื่อให้ได้ทรัพยากรที่มีเพียงจำกัด การได้เงินทุนจำเป็นต้องมีการยื่นข้อเสนอคุณภาพสูงซึ่งสามารถอธิบายวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการได้อย่างชัดแจ้ง ทำให้เป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้สมัครบางคนที่จะต้องโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางผู้สมัครรายอื่นๆ
  • ข้อกำหนดสำหรับการหาเงินทุนร่วมอาจจำกัดการเข้าถึงทุน ผู้รับเงินทุนดังกล่าวบางรายจำเป็นต้องหาเงินลงทุนร่วมให้โครงการเหล่านี้เพื่อช่วยสนับสนุนความสอดคล้องทางยุทธศาสตร์ ปรับปรุงการประสานงาน และทำให้การใช้ความพยายามร่วมกันเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงเวลาวิกฤติและหลังจากนั้น ดังนั้น ทรัพยากรทางการเงินที่จำกัดและขีดความสามารถขององค์กรของผู้รับทุนอาจจำกัดการเข้าถึงและการใช้กองทุนสภาพภูมิอากาศได้

ประโยชน์ที่อาจได้รับ

  • ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่สำคัญยิ่ง กองทุนสภาพภูมิอากาศของเมืองให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อมในเมืองที่ยั่งยืนและโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเมืองอัจฉริยะ อาจมีการนำกองทุนเหล่านี้ไปใช้ด้วยจุดมุ่งหมายต่างๆ หลากหลายแบบ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเมืองที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ การสร้างขีดความสามารถ และการปฏิรูปนโยบาย การสนับสนุนทางการเงินนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเมืองในอาเซียนที่แสวงหาการนำยุทธศาตร์การบรรเทาและการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศมาใช้จริง เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นและความยั่งยืนของเมือง
  • สามารถรองรับการสร้างขีดความสามารถและการนำเทคโนโลยีมาใช้ กองทุนเหล่านี้ให้ทรัพยากรสำหรับฝึกอบรมและให้ความรู้ การช่วยให้เจ้าหน้าที่ นักวางแผน และผู้มีส่วนได้เสียในท้องถิ่นพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการนำไปใช้และจัดการโครงการสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ เช่น โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ยานยนต์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซึ่งช่วยเสริมความยั่งยืนของเมืองและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมแนวปฏิบัติในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนภูมิอากาศในเมืองอาจส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่มรัฐสมาชิกอาเซียนได้อย่างมีศักยภาพ ทั้งนี้ รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาคารประหยัดพลังงาน ระบบการขนส่งที่ยั่งยืน และการวางแผนเมืองที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศซึ่งมีส่วนช่วยในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แหล่งข้อมูล/ข้อมูลเพิ่มเติม

  1. ธนาคารโลก (2020) กองทุนช่องว่างทางการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศเมือง ดูได้ที่: https://www.worldbank.org/en/programs/gap-fund
  2. C40 Cities เกี่ยวกับเรา ดูได้ที่: https://www.c40.org/about-c40/
  3. ธนาคารโลก (2022) รายงานประจำปีของกองทุนช่องว่างทางการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศเมือง ปี 2022 ดูได้ที่: https://www.citygapfund.org/sites/default/files/2023-08/220927_world-bank-mdtf-gap-fund-annual-report-fr22.pdf
  4. สถาบันทรัพยากรโลก Urban Shift ดูได้ที่: https://www.wri.org/initiatives/urbanshift

Case Study

Scroll to Top