คำอธิบาย
การรีไซเคิลสินทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้จากสินทรัพย์สาธารณะที่มีอยู่เดิมผ่านการขายให้ภาคเอกชนหรือให้เอกชนเช่า โดยเงินทุนทั้งหมดที่ได้มาจะถูกนำไปลงทุนอีกครั้งในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ รัฐบาลขาย (หรือให้เช่า) สินทรัพย์สาธารณะให้หน่วยงานเอกชนเพื่อสร้างมูลค่าแล้วนำรายได้มาเป็นเงินทุนสำหรับการลงทุนในอนาคต รัฐบาลอาจขายสินทรัพย์ที่ไม่ต้องการอีกต่อไป ขายสินทรัพย์เพื่อใช้ประโยชน์จากมูลค่าต้นทุนปัจจุบันของตนแล้วเช่าคืนเพื่อการใช้งานสาธารณะ หรือดำเนินการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือทำข้อตกลงเรื่องหุ้นเพื่อช่วยแผนการพัฒนาของภาคเอกชน การรีไซเคิลสินทรัพย์มอบโอกาสในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นใหม่โดยไม่เพิ่มหนี้สาธารณะในขณะที่ยังคงบำรุงรักษาหรืออาจปรับปรุงการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมอย่างมีศักยภาพ
ภาวะที่เอื้ออำนวยและข้อควรพิจารณาหลัก
- จะต้องมีการกำหนดกลไกหรือแนวทางที่เคร่งครัดสำหรับการใช้รายได้นั้น เพื่อให้มั่นใจว่ารายได้จากการรีไซเคิลสินทรัพย์จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องมีการกำหนดกลไกหรือแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการลงทุนใหม่ หรือการจัดหาเงินทุนของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานใหม่ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถเลือกที่จะเก็บรายได้จากการรีไซเคิลสินทรัพย์เพื่อนำไปลงทุนใหม่ในโครงสร้างพื้นฐานภายใต้อำนาจของตนเอง หรืออาจจัดสรรรายได้ให้กองทุนรวมระหว่างหน่วยงานภาครัฐก็ได้ ในกรณีหลัง การใช้เงินทุนจะต้องมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการสร้างมูลค่าในระยะยาว
- ข้อตกลงโครงการที่ชัดเจนโดยมีการสรุปความรับผิดชอบและหน้าที่ของผู้มีส่วนได้เสียภาครัฐและเอกชน ธุรกรรมการรีไซเคิลสินทรัพย์อาจเกี่ยวข้องกับสัมปทานระยะยาวหรือการให้หุ้นส่วนเอกชนเช่าสินทรัพย์เพื่อดำเนินการและบำรุงรักษา และบางครั้งอาจมีการพัฒนาใหม่และ/หรือขยายกิจการ ข้อตกลงโครงการที่ชัดเจนซึ่งแจกแจงรายละเอียดข้อกำหนดในการรายงาน กระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพ ขั้นตอนการแก้ไขข้อพิพาท และขั้นตอนการส่งคืน รวมถึงเนื้อหาด้านการจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้เครื่องมือการรีไซเคิลสินทรัพย์ให้ประสบความสำเร็จ
- ต้องมีการแจกแจงรายละเอียดเรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงานและภาระผูกพันการส่งคืนตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สำหรับธุรกรรมการรีไซเคิลสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาให้สัมปทานหรือให้เช่า ควรมีข้อกำหนดภาระผูกพันการออกจากสัมปทานที่ทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์ ณ จุดออกจากสัมปทานของภาคเอกชน ในการกำหนดภาระผูกพันเหล่านี้เมื่อเริ่มต้นโครงการ จำเป็นต้องพิจารณาถึงความยั่งยืนในระยะยาวของสินทรัพย์ ความต่อเนื่องในการให้บริการ และการบำรุงรักษามาตรฐานการให้บริการ ภาระผูกพันในการส่งมอบยังจำเป็นต้องกำหนดขั้นตอนเพื่อระบุการประเมินคุณภาพที่แท้จริง และค่าใช้จ่ายในการแก้ไขที่ต้องชำระในกรณีที่คุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่าที่ควรในการส่งมอบไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น สิ่งนี้อาจนำมาซึ่งกระบวนการอิสระในการดำเนินการตรวจสอบการส่งมอบ
- การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสาธารณะและภาคเอกชนก่อนที่จะเปิดตัวโครงการรีไซเคิลสินทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญ การรับรู้เกี่ยวกับการโอนสินทรัพย์ของรัฐเป็นของเอกชนจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและภาคส่วน และการที่รัฐบาลขายหรือให้หน่วยงานเอกชนเช่าสินทรัพย์สาธารณะอาจเผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากสาธารณชนเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ เช่น การตกงาน หรือความกังวลด้านความปลอดภัยสาธารณะ รวมถึงปัญหาอื่นๆ ด้วย การมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นของกลุ่มสาธารณชนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างแรงสนับสนุนจากประชาชน และช่วยบรรเทาความกังวลของผู้ที่ทำงานในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นของภาคเอกชนก็สำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจในผลประโยชน์และความกังวลของภาคเอกชนแต่เนิ่นๆ และให้มุมมองเบื้องต้นแก่นักลงทุนว่าจะมีสินทรัพย์ใดรวมอยู่ในโครงการใดบ้างและข้อสัญญาน่าจะเป็นเช่นไร
ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น
- การขาดประสบการณ์ของรัฐบาลในการพัฒนาและจัดการสัญญาระยะยาว สำหรับโครงการที่จำเป็นต้องมีการร่วมงานระยะยาวกับภาคเอกชน (เช่น การรีไซเคิลสินทรัพย์โดยให้สัมปทานหรือให้เช่า) รัฐบาลที่ขาดประสบการณ์ในการทำงานกับภาคเอกชนอาจพบว่าเป็นเรื่องท้าทายที่จะร่างสัญญา ซึ่งระบุข้อกำหนดในการรายงานกระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพ และขั้นตอนการส่งคืนในลักษณะที่จะทำให้มั่นใจได้ว่ามีความยั่งยืนในระยะยาวของโครงการและได้ประโยชน์ต่อสาธารณะ นอกจากนี้ รัฐบาลอาจขาดประสบการณ์ในการสร้างความมั่นใจถึงประสิทธิภาพการจัดการสัญญาและการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานตลอดช่วงระยะเวลาของ โครงการ
- ความยากลำบากในการระบุสินทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับการรีไซเคิล เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจสำหรับคู่ค้าภาคเอกชน สินทรัพย์จะต้องมีการรองรับด้วยกระแสเงินสดย้อนหลังที่เป็นบวก และมีศักยภาพในการสร้างกระแสเงินสดที่เป็นบวกสำหรับคู่ค้าภาคเอกชนที่จะดำเนินการต่อไป ในการนำมูลค่ามาสู่หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการทำธุรกรรมนี้ รายได้จากธุรกรรมจะต้องสามารถนำมารับใช้ภาระหนี้ และ/หรือค่าธรรมเนียมล่วงหน้าจะต้องสร้างเงินทุนเพียงพอเพื่อรองรับความจำเป็นด้านการใช้จ่ายของรัฐบาล (รวมถึงความจำเป็นด้านการเงินของเมืองอัจฉริยะ)
ประโยชน์ที่อาจได้รับ
- ทำให้มีทางเลือกในการหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานใหม่โดยไม่ต้องเพิ่มหนี้สาธารณะ การรีไซเคิลสินทรัพย์เป็นทางเลือกสำหรับรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการหาเงินทุนใหม่ โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมโดยไม่ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะใหม่ วิธีนี้อาจช่วยทำให้มูลค่าของกองทุนจากสินทรัพย์นั้นอยู่ในระดับที่พอเหมาะ และเงินทุนที่ได้มาก็อาจช่วยสนับสนุนโครงการเมืองอัจฉริยะครอบคลุมด้านต่างๆ ได้กว้างขึ้น
- การร่วมทุนกับภาคเอกชนอาจช่วยปรับปรุงการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีศักยภาพ ภาคเอกชนมีความสามารถในการนำความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคหรือด้านการแบ่งส่วนมาสู่โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม และปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ในรูปแบบสัญญาเช่าระยะยาวหรือสัมปทานที่คู่ค้าภาคเอกชนสามารถดำเนินการสินทรัพย์ได้เป็นระยะเวลานาน การให้เงินทุนปรับปรุงสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานอาจเป็นสิ่งจูงใจได้ด้วย
แหล่งข้อมูล/ข้อมูลเพิ่มเติม
- ธนาคารโลก (2023) แนวทางสำหรับการดำเนินการธุรกรรมรีไซเคิลสินทรัพย์ ดูได้ที่: https://ppp.worldbank.org/public-private-partnership/library/guidelines-implementing-asset-recycling-transactions-download-pdf-version-now-available
- Oliver Wyman (2018) การรีไซเคิลสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน: ข้อมูลเชิงลึกสำหรับรัฐบาลและนักลงทุน ดูได้ที่: https://www.oliverwyman.com/content/dam/oliver-wyman/v2/publications/infrastructure-asset-recycling-grc.pdf
- ธนาคารโลก (2023) เหตุใดประเทศต่างๆ จึงควรนำการรีไซเคิลสินทรัพย์มาใช้และจะหาคำแนะนำที่ดีจากที่ใด ดูได้ที่: https://blogs.worldbank.org/en/ppps/why-countries-should-implement-asset-recycling-and-where-get-good-guidance