กองทุนพัฒนาภูมิภาค

กองทุนพัฒนาภูมิภาคเป็นกลไกทางการเงินที่ส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจมีการแข่งขัน และมีสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยเสนอการเตรียมโครงการและนำไปใช้ การจัดหาเงินทุน และการพัฒนาความสามารถที่เกี่ยวข้องสำหรับการริเริ่มเมืองอัจฉริยะ

Instrument Category

Other ınstruments ın the same Category

Relevant case study

คำอธิบาย

กองทุนพัฒนาภูมิภาคเป็นกลไกทางการเงินที่ส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน และมีสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนผ่านทางการสนับสนุนโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะ กองทุนนี้มีที่มาจากรัฐบาล องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ และนักลงทุนภาคเอกชน ตัวอย่างบางส่วน ได้แก่ กองทุนทรัสต์เมืองอัจฉริยะอาเซียนออสเตรเลีย (ASEAN Australia Smart Cities Trust Fund, AASCTF) กองทุนนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะจากการร่วมลงทุนสหรัฐฯ-อาเซียน และกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิภาคของธนาคารโลก โดยทั่วไป กองทุนเหล่านี้จะสนับสนุนรัฐบาลที่ต่ำกว่าระดับชาติ/เมืองในการเตรียมและดำเนินการโครงการ การจัดหาเงินทุน และการพัฒนาขีดความสามารถที่เกี่ยวข้องโดยเน้นที่ผลลัพธ์ซึ่งสามารถวัดได้ รวมถึงการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกด้านและยั่งยืน

ภาวะที่เอื้ออำนวยและข้อควรพิจารณาหลัก

  • สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกองทุน โครงการที่แสวงหาเงินทุนต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์จำเพาะและการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกองทุนอย่างใกล้เคียงมาก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในส่วนที่กองทุนมุ่งเน้น ภูมิภาคเป้าหมาย และผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์
  • ผลกระทบทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โครงการควรแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน เช่น การสร้างงาน การเข้าถึงบริการที่ดีขึ้น การปล่อยคาร์บอนที่ลดลง และความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรบูรณาการกรอบการประเมินผลกระทบและตัวชี้วัดเข้ากับการวางแผนโครงการและการนำไปใช้จริง
  • ความเป็นไปได้ทางการเงินและความยั่งยืน ข้อเสนอโครงการควรบรรยายแผนทางการเงินที่ชัดเจนรวมถึงการประมาณการต้นทุน แหล่งเงินทุน กลไกการสร้างรายได้ และยุทธศาสตร์สำหรับความยั่งยืนระยะยาวเกินกว่าระยะหาเงินทุน ความเป็นไปได้ทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดึงดูดการลงทุนและสร้างความมั่นใจถึงความต่อเนื่องของโครงการ

ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น

  • การเข้าถึงการให้เงินทุนมักมีการแข่งขันสูง การแข่งขันหาเงินทุนพัฒนาภูมิภาคนั้นเข้มข้นมากโดยมีผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมากแข่งกันให้ได้ทรัพยากรที่มีเพียงจำกัด การได้เงินทุนจำเป็นต้องมีการยื่นข้อเสนอคุณภาพสูงซึ่งสามารถอธิบายวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการได้อย่างชัดแจ้ง ทำให้เป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้สมัครบางคนที่จะต้องโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางผู้สมัครรายอื่นๆ
  • กระบวนการสมัครและการอนุมัติอาจใช้เวลานาน กระบวนการสมัครอาจยืดเยื้อ มีระเบียบราชการ และซับซ้อน การหาหนทางผ่านขั้นตอนการอนุมัติที่มีหลายขั้นตอน การปฏิบัติตามข้อกำหนด และจัดทำเอกสารต่างๆ อาจเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับผู้สมัครที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรขนาดเล็กกว่า หรือรัฐบาลท้องถิ่นที่มีทรัพยากรและความชำนาญจำกัด
  • ผู้รับทุนอาจเผชิญปัญหาในการปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐานการตรวจสอบและการประเมินผล ผู้ได้รับเงินทุนอาจอยู่ภายใต้ข้อกำหนดการรายงานและการสามารถตรวจสอบได้ที่เคร่งครัด กระบวนการตรวจสอบและประเมินความคืบหน้า ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการที่ได้รับทุนจำเป็นต้องใช้ทรัพยากร ความเชี่ยวชาญ และกลไกการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เพียงพอ ขีดความสามารถในการตรวจสอบที่จำกัด ความพร้อมใช้งานของข้อมูล และกรอบการประเมินผล อาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการประเมินประสิทธิภาพของโครงการและการตัดสินใจโดยได้รับข้อมูลสำหรับการจัดสรรเงินทุนในอนาคต
  • อุปสรรคด้านนโยบายและกฎระเบียบ อุปสรรคด้านนโยบายและกฎระเบียบรวมถึงกรอบด้านกฎหมาย กระบวนการจัดซื้อ และอุปสรรคจากระบบราชการ อาจขัดขวางไม่ให้มีการเบิกจ่ายและการดำเนินการโครงการที่ได้รับทุนได้ตามเวลาที่เหมาะสม กฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกันในเขตอำนาจปกครองที่ต่างกันหรือการจัดลำดับความสำคัญที่ขัดแย้งกันในประเทศที่เข้าร่วม อาจทำให้ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องยากมากขึ้น

ประโยชน์ที่อาจได้รับ

  • การสนับสนุนที่หลากหลายสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่ง กองทุนเหล่านี้ให้ทรัพยากรทางการเงินซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในรัฐสมาชิกของอาเซียน เงินทุนนี้สามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การนำเทคโนโลยีมาใช้งาน การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการปฏิรูปนโยบาย
  • อำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองทุนพัฒนาภูมิภาคช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนเทคโนโลยีขั้นสูงและโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ไปยังรัฐสมาชิกของอาเซียน ด้วยการสนับสนุนโครงการที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น IoT AI และพลังงานหมุนเวียน กองทุนเหล่านี้จะช่วยเร่งให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลในเขตเมือง
  • ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาภูมิภาคอาจส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรัฐสมาชิกของอาเซียน ทั้งนี้ รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาคารประหยัดพลังงาน ระบบการขนส่งที่ยั่งยืน และการวางแผนเมืองที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีส่วนช่วยในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แหล่งข้อมูล/ข้อมูลเพิ่มเติม

  1. ธนาคารโลก (2020) โครงการสัมปทาน จัดสร้าง-ดำเนินการ-โอนคืน (Build-Operate-Transfer, BOT) และออกแบบ-สร้าง-ดำเนินการ (Design-Build-Operate, DBO) ดูได้ที่: https://ppp.worldbank.org/public-private-partnership/agreements/concessions-bots-dbos
  2. Thomson Reuters (2024) สัมปทาน ดูได้ที่: https://content.next.westlaw.com/Glossary/PracticalLaw/I1c635e3fef2811e28578f7ccc38dcbee?transitionType=Default&contextData=(sc.Default)
  3. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) (ไม่ปรากฏปี) คู่มือการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ดูได้ที่: https://www.adb.org/sites/default/files/institutional-document/31484/public-private-partnership.pdf
  4. PPIAF (2008) สัมปทานแบบบราวน์ฟิลด์พร้อมจะกลับมาอีกหรือไม่ ดูได้ที่:  https://www.ppiaf.org/sites/default/files/documents/2008-01/Gridlines-32-Brownfield_20Concessions_20-_20JLeigland.pdf
  5. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (2020) กองทุนทรัสต์เมืองอัจฉริยะอาเซียนออสเตรเลีย (ASEAN Australia Smart Cities Trust Fund, AASCTF) ดูได้ที่: https://www.adb.org/sites/default/files/institutional-document/729721/aasctf-annual-progress-report-2020.pdf
  6. การร่วมลงทุนเมืองอัจฉริยะ สหรัฐ-อาเซียน (US-ASEAN Smart Cities Partnership) (ไม่ปรากฏปี) กองทุนนวัตกรรมธุรกิจเมืองอัจฉริยะ ดูได้ที่: https://www.usascp.org/programs/climate-finance/
  7. ธนาคารโลก (ไม่ปรากฏปี) กองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิภาค ดูได้ที่: https://projects.worldbank.org/en/projects-operations/project-detail/P154947

Case Study

Scroll to Top