โครงการลงทุนเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมือง ที่สปป. ลาว

45 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านกองทุนพัฒนาภูมิภาค

โครงการลงทุนเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมือง ที่สปป. ลาว

เครื่องมือจัดหาเงินทุนและจำนวนเงิน

45 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านกองทุนพัฒนาภูมิภาค

ความเป็นมา

เมืองหลวงพระบางซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือตอนกลางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดชื่อเดียวกัน หลวงพระบางซึ่งได้รับสถานะเมืองในปี 2018 มีอาณาเขตครอบคลุม 115 หมู่บ้านในพื้นที่ 774 ตารางกิโลเมตร ณ จุดที่แม่น้ำโขงบรรจบกับแม่น้ำคาน ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการล่าสุด หลวงพระบางมีประชากร 90,313 คนในปี 2015 โดยประชากรส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ในเมืองหลัก โดยมีประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 68 จากปี 1995 ถึงปี 2015 โดยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.6 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เมืองหลักขยายตัวร้อยละ 117 หรือร้อยละ 5.3 ต่อปี แม้จะมีการเติบโตของประชากรโดยรวม แต่กลับพบว่ามีความเสื่อโทรมในเขตคุ้มครองมรดก (Heritage Protected Zone, ZPP) เนื่องจากอาคารที่อยู่อาศัยถูกดัดแปลงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น เกสต์เฮาส์ และร้านอาหาร

การท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจท้องถิ่น หลวงพระบางได้รับการแต่งตั้งเป็นพื้นที่มรดกโลกขององค์การยูเนสโกในปี 1995 การแต่งตั้งนี้ทำให้มีผู้มาเยือนจากนานาชาติเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จาก 20,000 คนในปี 1995 เป็น 638,000 คนในปี 2019 ในปี 2019 ก่อนที่การระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่นานนัก พบว่านี้มีนักท่องเที่ยวมาเยือนจังหวัดนี้เป็นจำนวนรวมถึง 860,035 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2018 ร้อยละ 13.9 โดยเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศร้อยละ 26 การระบาดของโรคและกำารกำหนดข้อห้ามต่างๆ ในการเดินทางทำให้มีผู้มาเยือนจากนานาชาติลดลงเป็นอย่างมากถึงร้อยละ 68 ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2019 ในปี 2022 จำนวนผู้มาเยือนจากนานาชาติเพิ่มกลับมาเป็น 257,000 คน ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศมีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 280,000 คน

ขณะที่หลวงพระบางฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาด คาดว่าจำนวนผู้มาเยือนต่อปีจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสิ่งอำนวยความสะดวกในเมือง (เช่น การจัดการขยะที่เป็นของแข็ง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการบำบัดน้ำเสีย ถนนในเมืองและทางเท้า และพื้นที่สีเขียวสาธารณะ) จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อความมั่นใจว่าเมืองจะพัฒนาต่อไปแบบยั่งยืน เมืองหลวงพระบางน่าจะต้องการโครงสร้างพื้นฐานเมืองที่ดีขึ้น มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและบริการการท่องเที่ยวเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบที่จะช่วยอนุรักษ์มรดกอันรุ่มรวยของเมือง

การดำเนินงาน

โครงการที่นำเสนอจะสนับสนุนการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน ครอบคลุมทุกด้าน และมีความยืดหยุ่นในเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเมืองใน

ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion, GMS) ที่ได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมด้านสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และความน่าอยู่ลดลง การลงทุนในโครงการหลายภาคส่วนจะ (i) ปรับปรุงคุณภาพและความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐานและบริการในเมือง (ii) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันต่างๆ และขีดความสามารถเพื่อสนับสนุนเส้นทางการพัฒนาแบบยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติต่างๆ (iii) ส่งเสริมการวางแผนเมืองที่ครอบคลุมทุกด้านและตระหนักถึงมิติทางเพศ และ (iv) ส่งเสริมความเป็นผู้นำของผู้หญิงและการเสริมพลังทางเศรษฐกิจ คาดว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัย 104,500 คน และผู้มาเยือน 1.3 ล้านคนต่อปีภายในปี 2031

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้จัดสรรทรัพยากรต่อไปนี้เพื่อเป็นเงินทุนให้โครงการ: 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นเงินกู้ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นเงินทุนแบบให้เปล่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลจะร่วมให้ทุนจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในรูปแบบของการให้สิ่งที่ไม่ใช่เงิน ภาษี และอากร โครงการจะดำเนินการตั้งแต่ปี 2024 ถึง 2030 มีการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจโดยดำเนินการตามแนวทางของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ในฉากทัศน์ที่มีโครงการกับไม่มีโครงการ ตลอดช่วงเวลา 25 ปีตั้งแต่ปี 2025 ถึง 2049

ผลลัพธ์

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเมือง สร้างสภาพแวดล้อมที่แข็งแกร่งมากขึ้นสำหรับบริการเมืองและการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมทุกด้านและมีความยืดหยุ่น ผลจำเพาะ ได้แก่:

ผลประการที่ 1 การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเมืองโดยการเปลี่ยนพื้นที่ทิ้งขยะแบบเปิดโล่งขนาด 17.1 เฮกตาร์ ที่มีอยู่ให้กลายเป็นหลุมฝังกลบที่มีการจัดการซึ่งมีเซลล์เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบกึ่งแอโรบิก ระบบกักเก็บก๊าซมีเทนและเผาทำลาย และสิ่งอำนวยความสะดวกในการบำบัดสิ่งปฏิกูลจากบ่อเกรอะและน้ำชะขยะโดยใช้โซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ทางอ้อมและลานตากตะกอนที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการกู้คืนวัสดุที่รีไซเคิลได้ โครงการนี้ยังมีแผนฟื้นฟูถนนในเมืองอีก 16 กิโลเมตร ซึ่งจะได้รับการปรับปรุงด้วยต้นไม้ที่ให้ร่มเงาพันธุ์พื้นเมือง และติดตั้งท่อระบายน้ำฝนที่มีการติดตั้งกับดักมลพิษรวมอัจฉริยะ นอกจากนี้ มีการติดไฟส่องสว่างตามทางเท้ายาว 8 กิโลเมตร โดยใช้ไฟถนนแบบประหยัดพลังงาน

ผลประการที่ 2 โครงการนี้จะค้ำจุนสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการให้บริการในเมืองและการท่องเที่ยแบบครอบคลุมทุกด้านและมีความยืดหยุ่น นอกจากการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในเมืองหลวงพระบางแล้ว ยังมีการจัดทำแผนแม่บทเมืองและแนวทางการพัฒนาเมืองที่ครอบคลุมรอบด้านและตระหนักถึงมิติทางเพศอีกด้วย แนวทางเหล่านี้จะรวมถึงปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อจัดการปัญหาความแตกต่างทางเพศ และเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

ผลประการที่ 3 โครงการนี้จะพัฒนาความเป็นผู้นำและการจ้างงานของผู้หญิงผ่านโครงการให้ทุนการศึกษาเพื่อการศึกษาระดับสูงขึ้นและการฝึกอบรมด้านวิชาชีพของประเทศ โดยมุ่งที่เจ้าหน้าที่สตรีในหน่วยงานด้านน้ำประปา สุขาภิบาล งานสาธารณะ และด้านการท่องเที่ยว โครงการริเริ่มนี้จะจัดให้มีการฝึกอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ และความเป็นผู้นำ รวมถึงโปรแกรมผู้บริหารระยะสั้นในสาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรม การวางแผนเมือง การจัดการสาธารณะ การเงิน และการจัดการพื้นที่มรดกและการท่องเที่ยวตามลำดับความสำคัญของผู้เรียน

การเรียนรู้

ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การลงทุนและแผนระดับประเทศ

โครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การร่วมลงทุนของประเทศ ปี 2017-2020 และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ปี 2030 ของรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 10 ปี (ปี 2016-2025) นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดลำดับความสำคัญเชิงปฏิบัติการหลักของยุทธศาสตร์ ADB ปี 2030 ในการจัดการกับความยากจนที่ยังคงเหลืออยู่ จัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เมืองน่าอยู่มากขึ้น สร้างความแข็งแกร่งให้การบริหารภาครัฐและขีดความสามารถเชิงสถาบัน และการเร่งให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ

ความสำคัญของกรอบด้านกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่

องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของโครงการ คือการพัฒนาแผนแม่บทเมืองหลวงพระบางซึ่งรวมถึงรายงานเมือง แผนการใช้ที่ดิน กฎระเบียบการวางแผนเมือง แนวทางการออกแบบ และเอกสารฉบับที่จำเป็นอื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการวางแผนเมือง ผู้มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมายที่เก่งกาจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเแนะแนวทางการพัฒนาเมือง ในกรณีของหลวงพระบาง แผนแม่บทเมืองปี 2012 ที่มีอยู่เดิม พร้อมทั้งแผนแม่บทการพัฒนาและอนุรักษ์มรดกหลวงพระบาง (Luang Prabang Heritage Preservation and Development Master Plan, PSMV) ทำหน้าที่เป็นกรอบด้านกฎหมายหลักเพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และบรรลุเป้าหมายนโยบายระดับชาติและระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม แผนปี 2012 นั้นล้าสมัย ไม่สามารถนำมาใช้รองรับพื้นที่ 48.5 ตารางกิโลเมตรของ SEZ ที่ได้รับการกำหนดใหม่ทั้งภายในเมืองและรอบเมือง นอกจากนี้ แผนนั้นยังขาดการตระหนักถึงมิติทางเพศและไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติได้อย่างเพียงพอ ช่องว่างนี้ได้รับการแก้ไขด้วยการออกแบบโครงการ

การแก้ปัญหาจุดอ่อนเชิงสถาบัน

โครงการนี้มีองค์ประกอบเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในขีดความสามารถเชิงสถาบันของผู้มีส่วนได้เสีย ในการออกแบบ โครงการนี้ยอมรับข้อจำกัดที่องค์กรสถาบันต่างๆ ต้องเผชิญในหลวงพระบางเพื่อให้บรรลุถึงการพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน ในคำแนะนำของโครงการ จะมีการเน้นการปฏิบัติการเฉพาะเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของสถาบันในการพัฒนา จัดการ และดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานเมืองบนพื้นฐานความยั่งยืนในระยะยาว

แหล่งข้อมูล/ข้อมูลเพิ่มเติม

  1. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: โครงการลงทุนเพื่อการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเมือง โครงการที่มีอำนาจสูงสุด | 53203 – 001 ดูได้ที่: https://www.adb.org/projects/53203-001/main
  2. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) (2023) การศึกษาความเป็นไปได้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: โครงการลงทุนเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมือง (หลวงพระบาง) ดูได้ที่: https://www.adb.org/sites/default/files/project-documents/52064/52064-001-tacr-en_46.pdf
  3. โครงการ GMS ที่ได้รับทุนจาก ADB เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและการท่องเที่ยว เสริมโอกาสของผู้หญิงในหลวงพระบางที่สปป. ลาว ดูได้ที่: https://greatermekong.org/g/adb-financed-gms-project-strengthen-urban-and-tourism-infrastructure-enhance-women%E2%80%99s-opportunities

Other Relevant Case Studies

รัฐบาลบรูไนได้จัดสรรเงินจำนวน 18 ล้านดอลลาร์บรูไน (13.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)* เพื่อพัฒนา BruHealth ระยะที่ 2 และ 3 ในการจัดทำงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2023/24
การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับการดำเนินการด้วยการเงินแบบผสมผสาน โดยมีต้นทุนรวมอยู่ที่ 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการสนับสนุน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากโครงการการเงินแบบผสมผสานของ Canada-IFC
นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อดูแลทางด่วน (Toll Road Special Vehicle, BUJT) ที่เป็นผู้บริหารจัดการทางด่วน MBZ (MBZ Toll Road) ได้ขายหุ้นร้อยละ 40 ของบริษัทใน PT Jasamarga Jalanlayang Cikampek (JJC) มูลค่า 4.38 ล้านล้านริงกิตอินโดนีเซีย (291.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) *ให้ PT Margautama Nusantara (MUN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทซาลิมกรุ๊ป (Salim Group Company)
Scroll to Top